วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส้มสายน้ำผึ้ง





ส้มสายน้ำผึ้ง หรือส้มโชกุน หรือ ส้มเพชรยะลา เป็นพันธุ์ส้มในกลุ่มส้มเขียวหวานชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะผลส้มนี้มีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่าส้มเขียวหวานชนิดอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน เนื้อแน่น สีส้นสวนงาม ชานมีลักษณะนิ่ม มีน้ำส้มในปริมาณมาก รสชาติหวานแหลม อมเปรี้ยวเล็กน้อย


ลักษณะประจำพันธุ์ของส้มสายน้ำผึ้ง ทรงพุ่ม ส้มสายน้ำผึ้งมีการเจริญได้ดีพอๆ กับส้มเขียวหวาน โดยจะมีทรงพุ่มแน่นกว่าส้มเขียวหวาน ลักษณะกิ่งและใบจะตั้งขึ้น (erect form) ในขณะที่ส้มเขียวหวานใบจะตก หรือห้อยลงมา (weeping form and willow leaf)

ใบ ใบของส้มสายน้ำผึ้งเมื่อเทียบกับส้มเขียวหวาน จะมีขนาดเล็กและมีสีเขียวเข้มมากกว่า นอกจากนี้ใบยังมีกลิ่นหอมคล้ายส้มจีน และส้มพองแกน ผลส้มสายน้ำผึ้งมีลักษณะผลคล้ายส้มเขียวหวานมาก ขณะที่ผลยังอ่อนจะมีสีคล้ายส้มเขียวหวาน เมื่อแก่จัดผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดง ผกเว้นผลส้มที่ได้จากภาคใต้จะมีสีผิวหมือนกันส้มเขียวหวาน ปอกเปลือกง่าย เปลือกมีกลิ่นหอมคล้ายส้มจีน หรือส้มพองแกน ส้มพันธุ์นี้มีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว 8-8 เดือนครึ่ง ในการปลูกจากกิ่งตอนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปีที่ 3

การเตรียมพื้นที่ปลูก

1. การเตรียมพื้นที่

การเลือกต้นพันธุ์

การปลูกต้นส้มในปัจจุบันนิยมใช้ 2 วิธีคือ การปลูกจากกิ่งตอนและใช้วิธีการติดตากับต้นตอ การปลูกจากกิ่งตอน อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องโรคที่ติดมากับต้นพันธุ์ ต้นโทรม อายุสั้น ผลร่วง ผลด้อยคุณภาพ ดังนั้นในการเลือกต้นพันธุ์ ควรใช้ความพิถีพิถันในการเลือกโดยซื้อต้นพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้


ต้นส้มที่เจริญจากกิ่งตอน

อีกทางเลือกหนี่งคือการใช้ต้นติดตาโดยนำตาปลอดโรคมาจากต้นที่แข็งแรง เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง สม่ำเสมอนำมาติดตาบนต้นตอที่ทนทางต่อโรครากเน่าโคนเน่า ต้นตอที่นิยมใช้มี 3 ชนิดคือ คลีโอพัตรา ทรอยเยอร์ และ สวิงเกิล แต่ละชนิดมึคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปควรเลือกใช้ต้นตอให้เหมาะกับพื้นที่ ดังนี้

1. ต้นตอคลีโอพัตรา ให้ต้นใหญ่ ผลขนาดเล็ก คุณภาพผลสูง โตช้าในระยะแรก ทนทานต่อเกลือได้ดี ทนโรคทริสเตซ่าและความหนาว ได้ผลดีกับสภาพดินเหนียวภาคกลางแต่อาจอ่อนแอต่อโรคโคนแน่าและรากเน่า ปรับตัวได้ดีกับดินหลายประเภท และต้องการน้ำมาก

2. ต้นตอทรอยเยอร์ ให้ต้นขนาดมาตรฐาน ผลผลิตสูง ผลใหญ่ ผลมีคุณภาพดี ทนทานต่อโรคโคนเน่าและทริสเตซา แต่ไม่ทนต่อโรคกรีนนิง ไม่ทนดินเค็ม อ่อนแอต่อไส้เดือนฝอย ทนหนาวได้ปานกลาง อ่อนแอต่อเอ็กโซคอร์ทิส ปรับตัวเข้ากับชนิดของดินได้หลายประเภทยกเว้น ดินด่าง ดินเค็มและดินเหนียว

3. ทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า ไส้เดิอนฝอย ทนเค็มได้ระดับดี ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ทนสภาพดินน้ำขังได้ดี เป็นต้นตอที่ดีของส้มหลายชนิด แต่อาจจะมีปัญหาการเข้ากันได้ไม่ดีกับส้มเขียวหวานบางชนิด เช่น อิมพีเรียล ไม่ชอบดินด่าง

ขนาดของต้นติดตาโตได้มาตรฐานพร้อมลงปลูกในแปลง คือ มีขนาดเส้นรอบวงที่โคนต้นไม่ต่ำกว่า 1.50 เซนติเมตร และมีความสูงจากโคนต้นถึงเรือนยอดไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร


ขั้นตอนการปลูก


1. วัดระยะปลูกและกำหนดจุดปลูก โดยแถวปลูกควรอยู่บริเวณกึ่งกลางแปลงแต่ละแปลง

2. ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกกับดินที่ขุดขึ้นมา อัตราต้นละ 10 กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยรอกฟอตเฟต 0.5 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ประมาณ 10 กรัม

3. แหวกดินทำหลุมให้มีขนาดโดกว่าถุงหรือกระถางที่เลี้ยงต้นพันธุ์

4. ฉีกถุงออก โดยก่อนฉีกถุงให้ใช้มือบีบดินในถุงให้แยกออกจากกัน

5. เขย่าวัสดุปลูกที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด ใช้กรรไกรตัดรากแก้วส่วนที่ขดงอออก พร้อมทั้งตัดส่วนยอดและใบออกบ้าง เพื่อให้เกิดการสมดุลย์กับรากที่เหลือ

6. วางต้นพันธุ์ลงในหลุม จัดรากฝอยที่มีอยู่เป็นชั้นๆ แล้วแผ่รากในแต่ละชั้นออกรอบข้าง

7. ใช้ดินกลบรากไล่ขึ้นมาเป็นชั้น โดยให้รากฝอยชั้นบนสุดอยู่ต่ำกว่าระดับดินบนประมาณ 1 เซนติเมตร

8. ใช้ดินผสมปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 : 1 กลบโคนเป็นรูปกระทะคว่ำกว้างประมาณ 1 เมตร และสูงประมาณ 20 เซนติเมตร

9. ผูกต้นติดกับหลักป้องกันการโยกคลอนแล้วรดน้ำให้ชุ่ม


การเก็บเกี่ยวผลส้ม

การเก็บเกี่ยวมี 2 วิธีคือ ใช้มือกับส้มที่มีตำหนิ หรือในช่วงเร่งเก็บเกี่ยว และใช้กรรไกรตัด

กรรไกรมี 2 ชนิดคือ

-กรรไกรด้ามสั้น

-กรรไกรด้ามยาว กรรไกรด้ามสั้นใช้สำหรับ เก็บส้มที่อยู่ในระดับต่ำ มี 2 แบบ ดังภาพ


กรรไกรด้ามสั้นทั้ง 2 แบบ

ส้มที่อยู่สูงขั้นไปจะใช้กรรไกรด้ามยาวตัด แล้วส่งให้คนงานอีกคนรับหรือวางกับพื้น หรือใช้บันไดขนาดเล็ก ถ้าส้มอยู่สูงมากๆ จะใช้บันไดร่วมกันกรรไกรด้ามยาว

หลังจากตัดจากต้นแล้วจะตัดขั้วครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันไม่ให้ส้มเกิดบาดแผลในระหว่างขนส่ง


วิธีการวางจำหน่าย

- กองรูปปิรามิดมีพลาสติกคลุม กองไม่เป็นระเบียบ

- ส้มในกล่อง ส้มในถุงตาข่าย

- การวางจำหน่ายนั้นทำได้หลากหลายรูปแบบ

1.กองรูปปิรามิดมีพลาสติกคลุม

2.วางกองอย่างไม่มีระเบียบ

3.ใส่กล่อง เปิดฝากล่องให้ลูกค้าเห็นส้มที่บรรจุอยู่ภายใน

4.วางจำหน่ายในตะกร้า ผู้จำหน่ายบางรายมีการนำหนังสือพิมพ์หรือผ้าวางรองก้นตะกร้า เพื่อป้องกันไม่ให้ส้มเสียหายเนื่องจากเหลี่ยม หรือมุมของตะกร้า

5.ใส่ถุงตาข่าย

การจำหน่ายส้มนอกฤดูจะได้ราดาดี เมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ส้มจัดเป็นผลไม้ที่มีราคาสูง ส้มวางจำหน่ายได้ประมาณ 7-15 วัน ส้มที่เกิดการเสียหายจะทิ้งไว้ในตะกร้าหรือถึงขยะบริเวณที่จำหน่ายส้ม โดยจะเก็บไปทิ้งทุกวัน ในกรณีที่ส้มขายไม่หมดก็จะเก็บไว้ที่แผงจำหน่าย ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปบริเวณอื่น

ข้อมูล:http : //www.phtnet.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น